ตลาดน้ำอัมพวา จ.สมุทรสงคราม
วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555
สถานที่ท่องเที่ยวใน จ. สมุทรสงคราม
เศรษฐกิจพอเพียง
แนวคิด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทางสายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฏีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่าง สังคมระดับท้องถิ่นและตลอดระดับสากล จุดเด่นของแนวปรัชญานี้คือ แนวทางที่สมดุล โดยชาติสามารถทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้ โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัตน์ และการอยู่รวมกันของทุกคนในสังคม
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทย ต้องประสบปัญหาภาวะทางเศรษฐกิจ และ ต้องการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพ เพื่อที่จะยืนหยัดในการไม่พึ่งพาผู้อื่น และ พัฒนานโยบายที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า มันไม่ได้มีความจำเป็นที่เราจะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ พระองค์ได้ทรงอธิบายว่า ความพอเพียงและการพึ่งตนเอง คือ ทางสายกลางที่จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงความไม่มั่นคงของประเทศได้
เศรษฐกิจพอเพียงเชื่อว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคมของชมชุนให้ดีขึ้นโดยมีปัจจัย 2 อย่างคือ
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม"
ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง อธิบายถึงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ว่า เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่างๆ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญา
อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น"
ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต
ซึ่ง ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวว่า "หลาย ๆ คนกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนจน ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้าสู่คุณภาพ"และ "การลงมือทำด้วยความมีเหตุมีผล เป็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง"
แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยังถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญของไทย เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (1) ความว่า: "บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคง ของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ"
นายสุรเกียรติ เสถียรไทย ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ได้กล่าวเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ในการประชุมสุดยอด The Francophonie Ouagadougou ครั้งที่ 10 ที่ Burkina Faso ว่า ประเทศไทยได้ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่กับ "การพัฒนาแบบยั่งยืน" ในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านการเกษตรกรรม เศรษฐกิจ และการแข่งขัน ซึ่งเป็นการสอดคล้องเป้าหมายแนวทางของนานาชาติในประชาคมโลก โดยยกตัวอย่างการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ซึ่งเมื่อยึดหลักปรัชญาในการแก้ปัญหาสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ของไทยเติบโตได้ถึงร้อยละ 6.7
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทางสายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฏีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่าง สังคมระดับท้องถิ่นและตลอดระดับสากล จุดเด่นของแนวปรัชญานี้คือ แนวทางที่สมดุล โดยชาติสามารถทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้ โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัตน์ และการอยู่รวมกันของทุกคนในสังคม
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทย ต้องประสบปัญหาภาวะทางเศรษฐกิจ และ ต้องการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพ เพื่อที่จะยืนหยัดในการไม่พึ่งพาผู้อื่น และ พัฒนานโยบายที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า มันไม่ได้มีความจำเป็นที่เราจะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ พระองค์ได้ทรงอธิบายว่า ความพอเพียงและการพึ่งตนเอง คือ ทางสายกลางที่จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงความไม่มั่นคงของประเทศได้
เศรษฐกิจพอเพียงเชื่อว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคมของชมชุนให้ดีขึ้นโดยมีปัจจัย 2 อย่างคือ
- การผลิตจะต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่าง ปริมาณผลผลิตและการบริโภค
- ชุมชนจะต้องมีความสามารถในการจัดการทรัพยากรของตนเอง
- เศรษฐกิจพอเพียงสามารถที่จะคงไว้ซึ่งขนาดของประชากรที่ได้สัดส่วน
- ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
- รักษาสมดุลของระบบนิเวศ และปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอก
หลักปรัชญา
...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด... | ||
— พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 |
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม"
ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง อธิบายถึงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ว่า เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่างๆ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญา
อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น"
ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต
ซึ่ง ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวว่า "หลาย ๆ คนกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนจน ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้าสู่คุณภาพ"และ "การลงมือทำด้วยความมีเหตุมีผล เป็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง"
การนำไปใช้
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ถูกใช้เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า "สังคมสีเขียว" ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบทแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยังถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญของไทย เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (1) ความว่า: "บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคง ของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ"
นายสุรเกียรติ เสถียรไทย ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ได้กล่าวเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ในการประชุมสุดยอด The Francophonie Ouagadougou ครั้งที่ 10 ที่ Burkina Faso ว่า ประเทศไทยได้ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่กับ "การพัฒนาแบบยั่งยืน" ในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านการเกษตรกรรม เศรษฐกิจ และการแข่งขัน ซึ่งเป็นการสอดคล้องเป้าหมายแนวทางของนานาชาติในประชาคมโลก โดยยกตัวอย่างการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ซึ่งเมื่อยึดหลักปรัชญาในการแก้ปัญหาสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ของไทยเติบโตได้ถึงร้อยละ 6.7
อาเซียน
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (1)
เนการาบรูไนดารุสซาลาม (NEGARA BRUNEI DARUSSALAM)
พื้นที่: 5,765 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ประชากร: 395,027 คน
ภาษาราชการ : มาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu)
ศาสนา: อิสลาม (67%) พุทธ (13%) คริสต์ (10%) และฮินดู (10%)
ระบอบการปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นองค์ประมุขผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
วันชาติ 23 กุมภาพันธ์
หน่วยเงินตรา บรูไนดอลลาร์ ( 1 บรูไนดอลลาร์ ประมาณ 24.07 บาท)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Simpor (Dillenia Suffruticosa) เป็นดอกไม้ที่มีกลีบดอกขนาดใหญ่สีเหลือง เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะบานคล้ายกับร่ม
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ประชากร: 395,027 คน
ภาษาราชการ : มาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu)
ศาสนา: อิสลาม (67%) พุทธ (13%) คริสต์ (10%) และฮินดู (10%)
ระบอบการปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นองค์ประมุขผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
วันชาติ 23 กุมภาพันธ์
หน่วยเงินตรา บรูไนดอลลาร์ ( 1 บรูไนดอลลาร์ ประมาณ 24.07 บาท)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Simpor (Dillenia Suffruticosa) เป็นดอกไม้ที่มีกลีบดอกขนาดใหญ่สีเหลือง เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะบานคล้ายกับร่ม
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
- สินค้านำเข้าสินค้า : เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตร อาที ข้าวและผลไม้
- สินค้าส่งออกสำคัญ : น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ
- ตลาดส่งออกที่สำคัญ : ญี่ปุ่น อาเซียน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย
- ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 15
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (2)
ราชอาณาจักรกัมพูชา (KINGDOM OF CAMBODIA)
พื้นที่ : 181,035 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ประชากร : 14.45 ล้านคน
ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
ศาสนา : พุทธเถรวาท (มหานิกาย 90% และธรรมยุตินิกาย 10%)
ระบอบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
วันชาติ : 9 พฤศจิกายน
หน่วยเงินตรา : เรียล (1 เรียล ประมาณ 0.0083 บาท)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Rumdul หรือดอกลำดวน เป็นดอกสีขาวเหลืองอยู่บนใบเดี่ยว มีกลิ่นหอมช่วงเวลาค่ำ
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
- สินค้านำเข้าสำคัญ : ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม ผ้าผืน และผลิตภัณฑ์ยาง
- สินค้าส่งออกสำคัญ : เสื้อผ้า สิ่งทอ รองเท้า ปลา ไม้ ยางพารา บุหรี่ และข้าว
- ตลาดส่งออกที่สำคัญ: สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร แคนาดา และเวียดนาม
- ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : จีน ฮ่องกง เวียดนาม ไทย และไต้หวัน
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 16
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (3)
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (REPUBLIC OF INDONESIA)
พื้นที่ : 5,070,606 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง: กรุงจาการ์ตา
ประชากร : 245.5 ล้านคน
ภาษาราชการ : บาร์ฮาซา อินโดนีเซีย
ศาสนา : อิสลาม (88%) คริสต์ (8%) ฮินดู (2%) พุทธ (1%) อื่นๆ (1%)
ระบอบการปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : ดร. ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
วันชาติ : 17 สิงหาคม
หน่วยเงินตรา: รูเปียห์ (10,000 รูเปียห์ ประมาณ 38 บาท)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Moon Orchid หรือกล้วยไม้ราตรี เป็นกล้วยไม้สายพันธ์ Phalaenopsis Amabilis
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
- สินค้านำเข้าสำคัญ: น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์
- สินค้าส่งออกที่สำคัญ: ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์จากไม้
- ตลาดนำเข้าที่สำคัญ: สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา
- ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : EU ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน สิงคโปร์
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 17
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (4)
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
(THE LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLIC)
พื้นที่ : 236,880 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ประชากร : ประมาณ 6 ล้านคน
ภาษาราชการ : ภาษาลาว
ศาสนา : พุทธ (75%) อื่นๆ (16-17%)
ระบอบการปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประมุข: พลโท จูมมาลี ไซยะสอน ประธานประเทศ สปป. ลาว
วันชาติ : 2 ธันวาคม
หน่วยเงินตรา : กีบ (1 บาท เท่ากับประมาณ 250 กีบ)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Champa หรือดอกลีลาวดี มีกลิ่นหอมและมีหลายสี เช่น สีแดง สีเหลือง สีชมพู และโทนสีอ่อนต่างๆ เป็นตัวแทนของความจริงใจและความสุขในชีวิต
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
- สินค้านำเข้าสำคัญ : รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอุปโภคบริโภค
- สินค้าส่งออกที่สำคัญ : ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน เสื้อผ้าสำเร็จรูป
- ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : ไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี
- ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 18
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (5)
มาเลเซีย ( MALAYSIA)
พื้นที่: 329,758 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง: กรุงกัวลาลัมเปอร์
ประชากร : 28.9 ล้านคน
ภาษาราชการ : มาเลย์
ศาสนา : อิสลาม (60%) พุทธ (19%) คริสต์ (12%) อื่นๆ (9%)
ระบอบการปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาห์
วันชาติ : 31 สิงหาคม
หน่วยเงินตรา : ริงกิต (1 ริงกิตประมาณ 10.22 บาท)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Bunga raya หรือดอกพู่ระหง โดยทั้ง 5 กลีบดอกเป็นตัวแทน 5 หลักการแห่งความเป็นชาติของมาเลเซีย ซึ่งเป็นปรัชญาเพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
- สินค้านำเข้าสำคัญ : ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม สินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร
- สินค้าส่งออกที่สำคัญ : อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว ปิโตรเลียม เฟอร์นิเจอร์ ยา น้ำมันปาล์ม
- ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ไทย
- ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ไทย ฮ่องกง
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 19
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (6)
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
(REPUBLIC OF THE UNION OF THE MYANMAR)
พื้นที่: 657,740 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : นครเนปิดอร์
ประชากร : 57.5 ล้านคน
ภาษาราชการ พม่า
ศาสนา : พุทธ (90%) คริสต์ (5%) อิสลาม (3.8%) ฮินดู (0.05%)
ระบอบการปกครอง : ระบบประธานาธิบดี
ประมุข : พลเอก เต็ง เส่ง
วันชาติ : 4 มกราคม
หน่วยเงินตรา : จั๊ต (1 USD ประมาณ 1,200 จั๊ต)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Paduak หรือดอกประดู่ ผลิดอกสีเหลืองทอง และส่งกลิ่นหอมหลังฤดูฝนแรกของเดือนเมษายน
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
- สินค้านำเข้าสำคัญ : ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม สินค้าแปรรูป สินค้าอาหาร
- สินค้าส่งออกที่สำคัญ : ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง
- ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : จีน สิงคโปร์ ไทย
- ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : ไทย อินเดีย จีน
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 20
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (7)
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (REPUBLIC OF THE PHILIPPINES)
พื้นที่ : 298,170 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ประชากร : 98 ล้านคน
ภาษาราชการ : ตากาล๊อก และภาษาอังกฤษ
ศาสนา : โรมันคาทอลิก (83%) โปรเตสแตนท์ (9%) อิสลาม (5%) อื่นๆ (3%)
ระบอบการปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี
ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3
หน่วยเงินตรา : เปโซ ( 100 เปโซ ประมาณ 49 บาท)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Sampaguita Jasmine มีกลีบดอกรูปดาวสีขาวที่บานตลอดปี แย้มดอกตอนกลางคืน และมีกลิ่นหอม
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
- อุตสาหกรรมหลัก : เสื้อผ้า ยา เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ไม้ และอาหารแปรรูป
- ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน จีน เกาหลีใต้
- ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 21
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (8)
สาธารณรัฐสิงคโปร์ (REPUBLIC OF SINGAPORE)
พื้นที่: 694.4 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ประชากร : 4.6 ล้านคน
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง ภาษามาเลย์ ภาษาทมิฬ
ศาสนา : พุทธ (42.5%) อิสลาม (14.9%) คริสต์ (14.6%) ฮินดู (4%) ไม่นับถือศาสนา (24%)
ระบอบการปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : นาย
นายกรัฐมนตรี : ลี เซียนลุง
หน่วยเงินตรา : ดอลลาร์สิงคโปร์ ( 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ประมาณ 24.39 บาท)
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Vanda Miss Joaquim เป็นดอกกล้วยไม้ซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ โดยตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ มีสีม่วงและรูปลักษณ์ที่สวยงาม
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
- อุตสาหกรรมหลัก : การผลิต การก่อสร้าง การคมนาคมขนส่งและโทรคมนาคม การเงินและการธนาคาร การบริการอื่นๆ
- สินค้าส่งออกที่สำคัญ : เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า
- สินค้านำเข้าที่สำคัญ : เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนอุปกรณ์ ไฟฟ้า น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร
- ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทย
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 22
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (9)
ราชอาณาจักรไทย (KINGDOM OF THAILAND)
พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ประชากร : ประมาณ 64 ล้านคน
ภาษาราชการ : ภาษาไทย
ศาสนา : พุทธ (94.6%) อิสลาม (4.6%) คริสต์ (0.7%) อื่นๆ (0.1%)
ระบอบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
หน่วยเงินตรา : บาท
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Ratchaphruek หรือราชพฤกษ์ มีช่อดอกสีเหลืองที่สวยงาม ชาวไทยถือว่าสีเหลืองของดอกไม้ชนิดนี้ คือ สีของพระพุทธศาสนา และความรุ่งโรจน์
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
- สินค้าส่งออกที่สำคัญ : เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ น้ำมันสำเร็จรูป เหล็ก เหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ ส่วนประกอบเคมีภัณฑ์ และข้าว
- สินค้านำเข้าที่สำคัญ : น้ำมันดิบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่นๆ อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
- ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- ตลาดส่งออกที่สำคัญ : สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ ฮ่องกง
เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 23
ข้อมูลประเทศในอาเซียนที่ควรรู้ (10)
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM)
พื้นที่ : 331,690 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ประชากร : ประมาณ 89.57 ล้านคน
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม
ศาสนา : พุทธ (มหายาน)
ระบอบการปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประธานาธิบดี : เจือง เติ๋น ซาง
หน่วยเงินตรา : ด่อง ( 1,000 ด่อง ประมาณ 1.10 บาท)
วันชาติ : 2 กันยายน
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอก Lotus หรือ ดอกบัว สำหรับชาวเวียดนามแล้ว ดอกบัวคือสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี เป็น 1 ใน 4 พันธ์ไม้ที่มีความสง่างามของชาวเวียดนาม ซึ่งประกอบด้วย ต้นสน ต้นไผ่ ต้นเบญจมาศ และดอกบัว
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
- สินค้าส่งออกที่สำคัญ : น้ำมันดิบ เสื้อผ้าและสิ่งทอ อาหารทะเล ยางพารา ข้าว กาแฟ รองเท้า
- สินค้านำเข้าที่สำคัญ : วัตถุดิบ วัสดุสิ่งทอ เครื่องหนัง เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
- ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ จีน
- ตลาดส่งออกที่สำคัญ : ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป
วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)